พายุไอแซกเคลื่อตัวผ่านเฮติแล้ว โดยทำให้เกิดฝนตกหนักในภาคใต้และมีผู้เสียชีวิต 4 ราย ขณะที่พายุเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศคิวบา...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 26 ส.ค. ว่า พายุโซนร้อน 'ไอแซก' พัดผ่านประเทศเฮติ และเคลื่อนตัวเข้าหาประเทศคิวบาแล้ว โดยพื้นที่ชายฝั่งทางตอนใต้ของเฮติ ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุอย่างรุนแรง โดยทำให้เกิดลมกระโชก ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมและดินถล่ม จนมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อ 4 ราย แต่ไม่มีรายงานความเสียหายร้ายแรงแต่อย่างใด
ในประเทศเฮติเด็กหญิงอายุเพียง 10 ปี เสียชีวิตเนื่องจากถูกกำแพงล้มทับ ที่เมืองหลวงกรุงปอร์โตแปรงซ์ และกลุ่มอ็อกแฟมของอังกฤษระบุว่า มีการพบผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 รายด้วย นอกจากนี้ ประชาชนกว่า 400,000 คนในเฮติต้องพักอาศัยอยู่ภายในเต็นท์ เนื่องจากสูญเสียบ้านไปในเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อปี 2010 ทำให้ต้องนอนบนพื้นโคลนท่ามกลางฝนที่ตกหนักแม้พายุจะผ่านไปแล้ว
ที่พักชั่วคราวของชาวเฮติในกรุงปอร์โตแปรงซ์ พังยับเยิน
ทั้งนี้ รัฐบาบประเทศคิวบาประกาศเตือนภัยพายุใน 6 รัฐของประเทศ และสั่งอพยพประชาชนหลายพันคนในพื้นที่เสี่ยง ไปยังที่สูงแล้ว ส่วนในสหรัฐฯก็มีประกาศเตือนภัยพายุในเมืองชายฝั่งของรัฐฟลอริดาเช่นกัน ซึ่งพยากรณ์อาการระบุว่า พายุจะพัดเข้าสู่ฟลอริดาในวันจันทร์
การจัดการฐานข้อมูล
วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555
พายุลูกใหญ่ 'บอละเวน' จ่อซัด 'โอกินาวา' บ่ายวันอาทิตย์
ภาพ : พายุเทมบิง (ซ้าย) พายุบอละเวน (ขวา)
พายุไต้ฝุ่นลูกใหญ่ "บอละเวน" พัดเข้าใกล้จังหวัดโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ความรุนแรงระดับ 3 กรมอุตุฯคาดขึ้นฝั่งช่วงบ่ายวันนี้...
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 26 ส.ค. ว่า พายุไต้ฝุ่น "บอละเวน" (ภาษาลาว) กำลังลมแรง 216 กิโลเมตร/ชั่วโมง เคลื่อนตัวสู่ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า อาจส่งผลให้ฝนตกหนักที่เกาะโอกินาวา ราว 31.5 นิ้ว ช่วงบ่ายวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น
พายุลูกดังกล่าว ถือเป็นลูกที่ 15 ของฤดูกาล ความรุนแรงทวีขึ้นถึงระดับ 3 เคียงคู่มากับไต้ฝุ่น "เทมบิง" ที่พัดขึ้นทางตอนใต้ของไต้หวัน จนทำให้น้ำท่วมฉับพลัน บางพื้นที่สูงถึง 3 เมตร ขณะที่ยานพานะของทางการเร่งช่วยอพยพผู้คนออกจากพื้นที่ประสบภัย ก่อนที่พายุจะกลับลงสู่งทะเลช่วงเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมื่อวันเสาร์ (25 ส.ค.) พายุบอละเวน เข้าใกล้เกาะมินามิไดโตะ ห่างจากทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวาราว 400 กิโลเมตร และกำลังเคลื่อนตัวไปทางทะวันตกเฉียงเหนือ ราว 15 กิโลเมตร/ชั่วโมง.
พายุไต้ฝุ่นลูกใหญ่ "บอละเวน" พัดเข้าใกล้จังหวัดโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ความรุนแรงระดับ 3 กรมอุตุฯคาดขึ้นฝั่งช่วงบ่ายวันนี้...
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 26 ส.ค. ว่า พายุไต้ฝุ่น "บอละเวน" (ภาษาลาว) กำลังลมแรง 216 กิโลเมตร/ชั่วโมง เคลื่อนตัวสู่ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า อาจส่งผลให้ฝนตกหนักที่เกาะโอกินาวา ราว 31.5 นิ้ว ช่วงบ่ายวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น
พายุลูกดังกล่าว ถือเป็นลูกที่ 15 ของฤดูกาล ความรุนแรงทวีขึ้นถึงระดับ 3 เคียงคู่มากับไต้ฝุ่น "เทมบิง" ที่พัดขึ้นทางตอนใต้ของไต้หวัน จนทำให้น้ำท่วมฉับพลัน บางพื้นที่สูงถึง 3 เมตร ขณะที่ยานพานะของทางการเร่งช่วยอพยพผู้คนออกจากพื้นที่ประสบภัย ก่อนที่พายุจะกลับลงสู่งทะเลช่วงเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมื่อวันเสาร์ (25 ส.ค.) พายุบอละเวน เข้าใกล้เกาะมินามิไดโตะ ห่างจากทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวาราว 400 กิโลเมตร และกำลังเคลื่อนตัวไปทางทะวันตกเฉียงเหนือ ราว 15 กิโลเมตร/ชั่วโมง.
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555
มะกันหวั่นไวรัส 'เวสต์ ไนล์' ซีดีซีห่วงกลายพันธุ์
ความคืบหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส “เวสต์ ไนล์” ที่มียุงเป็นพาหะในสหรัฐฯในรอบปีนี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 23 ส.ค.ว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ เผยว่า ตอนนี้ถือว่าอยู่ในระหว่างกลางของการระบาดของไวรัส “เวสต์ ไนล์” ครั้งใหญ่สุดเท่าที่เคยมีมาในสหรัฐฯ
ทั้งนี้ หลังพบผู้ป่วยแล้ว 1,118 คนใน 38 รัฐ ในจำนวนนี้ราวครึ่งหนึ่งอยู่ในรัฐเท็กซัสโดยเฉพาะพื้นที่เมืองดัลลัส แต่น่าจะมีผู้ป่วยอาการไม่ร้ายแรงอีกมากที่ไม่มาพบแพทย์ และยังเร็วไปที่จะบอกว่าสถานการณ์จะเลวร้ายแค่ไหน ณ ช่วงปลายปี
ซีดีซีระบุด้วยว่า ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในแต่ละปีพบในช่วงเดือน ส.ค.และ ก.ย. แต่ปีนี้ถือว่าระบาดหนักกว่าทุกปีที่ผ่านมาถึง 4 เท่า และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 41 ศพ โดยอยู่ในเท็กซัส 21 ศพ เฉพาะวันอังคารที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตในเท็กซัสถึง 4 ศพ โดยเจ้าหน้าที่ของซีดีซีกำลังศึกษาโอกาสกลายพันธุ์ของไวรัสเวสต์ ไนล์ด้วย แม้ยังไม่พบข้อมูลมีการกลายพันธุ์ของไวรัสร้ายดังกล่าวแต่อย่างใด
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าสภาพอากาศที่อบอุ่น ไม่ว่าฤดูใบไม้ผลิมาเร็วกว่าปกติและฤดูร้อนที่อากาศร้อนมาก กลายเป็นปัจจัยเร่งให้ยุงเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อไวรัส โดยแพร่เชื้อสู่คนหลังกัดนกที่ติดเชื้อไวรัสเวสต์ ไนล์ พบระบาดครั้งแรกในยูกันดาเมื่อปี 2480 พบผู้ป่วยในสหรัฐฯครั้งแรกที่รัฐนิวยอร์กเมื่อปี 2542 ก่อนพบว่าค่อยๆระบาดไปทั่วสหรัฐฯซึ่งช่วงระบาดหนักสุดอยู่ในปี 2545-46 ผู้ป่วยอาการหนักเกือบ 3,000 คน ยอดผู้เสียชีวิตเกิน 260 ศพ แต่ปีที่แล้วการระบาดไม่รุนแรง มีผู้ป่วยไม่ถึง 700 คน
อย่างไรก็ดี มีผู้ติดเชื้อเพียง 1 ใน 5 ที่ล้มป่วยซึ่งใช้เวลา 3-14 วัน กว่าจะแสดงอาการ ส่วนอาการแรกเริ่ม เช่น เป็นไข้ ปวดศีรษะ และเจ็บปวดตามร่างกาย บางคนฟื้นตัวจากอาการได้ภายในไม่กี่วัน แต่ยังพบว่าผู้ติดเชื้อ 1 ใน 150 อาการจะเริ่มหนักขึ้นรวมทั้งปวดเมื่อยตามลำคอ อาการมึนงงหรือสับสน อาการหนักขั้นโคม่าและอัมพาต
ส่วนกรณีพบระบาดหนักสุดในเมืองดัลลัสนั้น เจ้าหน้าที่ยังหาสาเหตุไม่พบ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการขึ้นบินพ่นยากำจัดยุงทางอากาศ แต่ยังเร็วไปที่จะประเมินผลกระทบ สำหรับวิธีป้องกันไวรัสเวสต์ ไนล์ ที่ดีที่สุด คือ เลี่ยงไม่ให้ยุงกัด, ใช้ยากำจัดแมลง, ติดม่านหรือมุ้งลวดที่ประตูและหน้าต่าง, สวมเสื้อผ้าแขน-ขายาว รวมทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงต่างๆ.
ทั้งนี้ หลังพบผู้ป่วยแล้ว 1,118 คนใน 38 รัฐ ในจำนวนนี้ราวครึ่งหนึ่งอยู่ในรัฐเท็กซัสโดยเฉพาะพื้นที่เมืองดัลลัส แต่น่าจะมีผู้ป่วยอาการไม่ร้ายแรงอีกมากที่ไม่มาพบแพทย์ และยังเร็วไปที่จะบอกว่าสถานการณ์จะเลวร้ายแค่ไหน ณ ช่วงปลายปี
ซีดีซีระบุด้วยว่า ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในแต่ละปีพบในช่วงเดือน ส.ค.และ ก.ย. แต่ปีนี้ถือว่าระบาดหนักกว่าทุกปีที่ผ่านมาถึง 4 เท่า และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 41 ศพ โดยอยู่ในเท็กซัส 21 ศพ เฉพาะวันอังคารที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตในเท็กซัสถึง 4 ศพ โดยเจ้าหน้าที่ของซีดีซีกำลังศึกษาโอกาสกลายพันธุ์ของไวรัสเวสต์ ไนล์ด้วย แม้ยังไม่พบข้อมูลมีการกลายพันธุ์ของไวรัสร้ายดังกล่าวแต่อย่างใด
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าสภาพอากาศที่อบอุ่น ไม่ว่าฤดูใบไม้ผลิมาเร็วกว่าปกติและฤดูร้อนที่อากาศร้อนมาก กลายเป็นปัจจัยเร่งให้ยุงเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อไวรัส โดยแพร่เชื้อสู่คนหลังกัดนกที่ติดเชื้อไวรัสเวสต์ ไนล์ พบระบาดครั้งแรกในยูกันดาเมื่อปี 2480 พบผู้ป่วยในสหรัฐฯครั้งแรกที่รัฐนิวยอร์กเมื่อปี 2542 ก่อนพบว่าค่อยๆระบาดไปทั่วสหรัฐฯซึ่งช่วงระบาดหนักสุดอยู่ในปี 2545-46 ผู้ป่วยอาการหนักเกือบ 3,000 คน ยอดผู้เสียชีวิตเกิน 260 ศพ แต่ปีที่แล้วการระบาดไม่รุนแรง มีผู้ป่วยไม่ถึง 700 คน
อย่างไรก็ดี มีผู้ติดเชื้อเพียง 1 ใน 5 ที่ล้มป่วยซึ่งใช้เวลา 3-14 วัน กว่าจะแสดงอาการ ส่วนอาการแรกเริ่ม เช่น เป็นไข้ ปวดศีรษะ และเจ็บปวดตามร่างกาย บางคนฟื้นตัวจากอาการได้ภายในไม่กี่วัน แต่ยังพบว่าผู้ติดเชื้อ 1 ใน 150 อาการจะเริ่มหนักขึ้นรวมทั้งปวดเมื่อยตามลำคอ อาการมึนงงหรือสับสน อาการหนักขั้นโคม่าและอัมพาต
ส่วนกรณีพบระบาดหนักสุดในเมืองดัลลัสนั้น เจ้าหน้าที่ยังหาสาเหตุไม่พบ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการขึ้นบินพ่นยากำจัดยุงทางอากาศ แต่ยังเร็วไปที่จะประเมินผลกระทบ สำหรับวิธีป้องกันไวรัสเวสต์ ไนล์ ที่ดีที่สุด คือ เลี่ยงไม่ให้ยุงกัด, ใช้ยากำจัดแมลง, ติดม่านหรือมุ้งลวดที่ประตูและหน้าต่าง, สวมเสื้อผ้าแขน-ขายาว รวมทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงต่างๆ.
วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555
หมู่บ้านขุดทอง
วิวมุมสูงมองเห็นหมู่บ้านเหมืองทองคำ ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ 90 เปอร์เซ็นต์ ของผลิตภัณฑ์ทองคำขนาดเล็ก มักถูกลักลอบนำออกนอกประเทศไปยังชาติต่างๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะจีน...
แคริบเบียนเตรียมรับพายุ-แหลมบอลข่านเร่งสู้ไฟป่า
ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ เตือนประชาชนในประเทศหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน ให้ระวังพายุโซน ไอแซก ขณะที่ไฟป่าเหนือรัฐแคลิฟอร์เนียทำให้บ้านเรือนถูกเผาเสียหาย 50 หลัง...
ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ ประกาศเตือนประชาชนในประเทศหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน เฝ้าระวังอันตรายจากพายุโซนร้อนลูกใหม่ “ไอแซก” ซึ่งมีกำหนดซัดขึ้นฝั่งเกาะกวาเดอลูป เมื่อ 22 ส.ค. ด้วยความเร็วลมประมาณ 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อนจะทวีความแรงขึ้น ทำให้เกิดลมพายุและฝนกระหน่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่ม จากนั้นพายุไอแซกจะเคลื่อนตัวผ่านมายังเปอร์โตริโก, คิวบา และมาขึ้นฝั่งที่รัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน เกิดเหตุไฟป่าที่เมืองแมนทัน ทางเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐฯ ทำให้บ้านเรือนประชาชนถูกเผาทำลายเสียหายราว 50 หลัง และเจ้าหน้าที่ต้องอพยพประชาชนไปยังที่พักอาศัยชั่วคราว นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่าคลื่นความร้อน หรือฮีตเวฟ ได้เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมพื้นที่ 2 เมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบอสเนีย ติดกับแหลมบอลข่าน ทำให้นายกเทศ– มนตรีเมืองบราทูนัชและสลาปาสนิชา ต้องประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อรับมือไฟป่าที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน.
ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ ประกาศเตือนประชาชนในประเทศหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน เฝ้าระวังอันตรายจากพายุโซนร้อนลูกใหม่ “ไอแซก” ซึ่งมีกำหนดซัดขึ้นฝั่งเกาะกวาเดอลูป เมื่อ 22 ส.ค. ด้วยความเร็วลมประมาณ 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อนจะทวีความแรงขึ้น ทำให้เกิดลมพายุและฝนกระหน่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่ม จากนั้นพายุไอแซกจะเคลื่อนตัวผ่านมายังเปอร์โตริโก, คิวบา และมาขึ้นฝั่งที่รัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน เกิดเหตุไฟป่าที่เมืองแมนทัน ทางเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐฯ ทำให้บ้านเรือนประชาชนถูกเผาทำลายเสียหายราว 50 หลัง และเจ้าหน้าที่ต้องอพยพประชาชนไปยังที่พักอาศัยชั่วคราว นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่าคลื่นความร้อน หรือฮีตเวฟ ได้เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมพื้นที่ 2 เมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบอสเนีย ติดกับแหลมบอลข่าน ทำให้นายกเทศ– มนตรีเมืองบราทูนัชและสลาปาสนิชา ต้องประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อรับมือไฟป่าที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน.
วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ยานนาซายิงเลเซอร์ใส่ 'หินดาวอังคาร' ศึกษาข้อมูลเชิงวิทย์
ยานนาซายิงเลเวอร์เชมแคมใส่หินดาวอังคารจนกลายเป็นจุณ หวังศึกษาส่วนประกอบทางเคมีขั้นพื้นฐาน โยงสภาพแวดล้อมที่อาจเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต...
สำนักข่าวเอพีรายงานเมื่อ 20 ส.ค. ว่า ยานสำรวจ "เคอเรียสซิตี้" ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูง ใส่ก้อนหินก้อนแรก ขนาดเท่ากับลูกเทนนิสบนดาวอังคาร จนระเหยกลายเป็นไอ เพื่อศึกษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ทั้งนี้ แสงเลเซอร์เชมแคม พลังงานกว่า 1 ล้านวัตต์ ถูกยิงมาจากเสาที่ติดตั้งบนยานเคอเรียสซิตี้ ระยะห่างจากก้อนหิน 2.5 เมตร ราว 30 จุด ใช้เวลา 10 วินาที จนก่อให้เกิดหลุมไหม้ขนาดเล็ก สำหรับภารกิจดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์หวังทราบส่วนประกอบทางเคมีขั้นพื้นฐานของก้อนหินว่าเคยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตหรือไม่ และถือเป็นการทดสอบความพร้อมของระบบแสงเลเซอร์ หากต้องเจอกับงานหนักในอนาคต.
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
'ไคตั๊ก' ถล่มเวียดนามคร่า 9 ศพ ระงับเรือเที่ยวฮาลองเบย์
'ไคตั๊ก' ถล่มเวียดนามคร่า 9 ศพ ระงับเรือท่องเที่ยวฮาลองเบย์ ทางการระดมทหาร 2 หมื่นนาย ช่วยเหลือชาวบ้าน พบบ้านเรือนเสียหาย 1.2 หมื่นหลัง...
สื่อประเทศเวียดนามรายงานว่า ไต้ฝุ่นไคตั๊ก ซึ่งลดกำลังลมศูนย์กลางเหลือระดับดีเพรสชั่น พัดถล่มพื้นที่ภาคเหนือเวียดนาม ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มจาก 4 เป็น 9 ราย ก่อให้เกิดน้ำท่วมบริเวณกว้าง ทั้งเกิดดินถล่มในบางพื้นที่ บ้านเรือนราษฎรเสียหายเกือบ 12,000 หลัง พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายเกือบ 1.5 แสนไร่ ต้นไม้ใหญ่ในกรุงฮานอยหักโค่นราว 200 ต้น ทางการระดมทหารราว 20,000 นาย ช่วยเหลือกู้ภัยชาวบ้านผู้ประสบภัย ส่วนเรือมากกว่า 11,000 ลำ รวมถึงเรือท่องเที่ยวในอ่าวฮาลองหลายร้อยลำ ถูกสั่งหยุดให้บริการนักท่องเที่ยวชั่วคราว.
สื่อประเทศเวียดนามรายงานว่า ไต้ฝุ่นไคตั๊ก ซึ่งลดกำลังลมศูนย์กลางเหลือระดับดีเพรสชั่น พัดถล่มพื้นที่ภาคเหนือเวียดนาม ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มจาก 4 เป็น 9 ราย ก่อให้เกิดน้ำท่วมบริเวณกว้าง ทั้งเกิดดินถล่มในบางพื้นที่ บ้านเรือนราษฎรเสียหายเกือบ 12,000 หลัง พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายเกือบ 1.5 แสนไร่ ต้นไม้ใหญ่ในกรุงฮานอยหักโค่นราว 200 ต้น ทางการระดมทหารราว 20,000 นาย ช่วยเหลือกู้ภัยชาวบ้านผู้ประสบภัย ส่วนเรือมากกว่า 11,000 ลำ รวมถึงเรือท่องเที่ยวในอ่าวฮาลองหลายร้อยลำ ถูกสั่งหยุดให้บริการนักท่องเที่ยวชั่วคราว.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)